การวางแผนในเรื่องการเงินจะเป็นทางที่ช่วยเตรียมความพร้อมนำไปสู่ความมั่นคงทางการเงินได้ เริ่มปลูกฝังนิสัยทางด้านการใช้เงินและการออมอย่างมีเหตุผลตั้งแต่ในวัยเด็ก เพื่อเป็นการฝึกวินัยทาง การเงินไว้และเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทำงานก็ จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีการวางแผนเพื่อจัดสรรรายได้ให้เหมาะสมกับการออม เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้แล้วจัดสรรรายจ่ายได้อย่างเหมาะสม และเมื่อมีครอบครัวจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลทั้งคนในครอบครัวและตนเอง จึงต้องมีความรับผิดชอบการเงินเพิ่มขึ้น จนถึงเมื่อเกษียณอายุก็ยังจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนทางการเงิน เพราะเป็นวัยที่ไม่มีรายรับเข้ามาแต่ค่าใช้จ่ายยังคงอยู่หรืออาจจะสูงในบางครั้ง
ขั้นตอนการวางแผนการเงิน
1. ประเมินฐานะทางการเงิน
สิ่งที่จะสามารถสะท้อนฐานะทางการเงินได้อย่างแท้จริงไม่ใช่สินทรัพย์ที่เรามีอยู่ แต่หากเป็นความมั่นคงสุทธิที่เราสามารถประเมินได้โดยทำบัญชีสินทรัพย์และหนี้สินและนำมาคำนวณ คือ สินทรัพย์หักหนี้สินเท่ากับความมั่นคงสุทธิ และควรจดบันทึกรับจ่ายประจำวัน จะทำให้เห็นถึงพฤติกรรมทางการเงินได้ชัดขึ้น เพราะรายได้และค่าใช้จ่ายจะถูกแจงออกมาแต่ละรายการจะได้รู้ ว่ามีรายการใดใช้จ่ายมากเกินหรือไม่มีความจำเป็นจะได้ตัดออกไป หรือรายได้ทางใดที่น้อยไปจะได้หาทางเพิ่มได้อีก
2. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
ควรจะมีกำหนดเวลาและมีการป้องเป้าหมายเพื่อจะให้ถึงเป้าหมายได้อย่างชัดเจนขึ้น ลำดับความสำคัญของเป้าหมาย ความสามารถทางการเงินณช่วงเวลานั้น ๆ เช่น ตอนนี้รายได้น้อยและภาระทางการเงินมากก็อาจจะเลื่อนเป้าหมายที่ไม่สำคัญออกไปเพื่อให้เป้าหมายที่สำคัญได้บรรลุเป้าหมายก่อน
3. ทำแผนการเงิน
วันนี้มีแผนบริหารและการจัดทำแผนการเงินและทรัพย์สินต่าง ๆ ช่วยลดค่าใช้จ่ายเงินอย่างไร หรือหารายได้เพิ่มจากทางไหนหรือนำไปลงทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างไร โดยจะต้องจัดสรรเวลารายได้ภาระทางการเงินโดยที่ไม่กดดันจนเกินไป
4. ทำตามตามแผนอย่างเคร่งครัด
สิ่งที่สำคัญมากก็คือความมีวินัยและความมุ่งมั่น ถ้าหากขาดการจริงจังและความต่อเนื่องก็จะทำให้ยากขึ้นในการที่จะบรรลุเป้าหมายได้
5. ตรวจสอบและปรับแผนตามสถานการณ์
ควรจะทำการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอทุก ๆ 6 เดือนว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ หากมีเหตุที่ทำให้ไม่เป็นไปตามแผนควรจะปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์